ทั่วไป

ปลดล็อกความเมื่อยล้า ฟื้นฟูร่างกาย ด้วยศาสตร์การแช่เท้าแบบแพทย์แผนจีน

ปลดล็อกความเมื่อยล้า ฟื้นฟูร่างกาย ด้วยศาสตร์การแช่เท้าแบบแพทย์แผนจีน

บำรุงต้นไม้ต้องดูที่ราก บำรุงร่างกายต้องดูที่เท้า เป็นสุภาษิตของจีน ที่บ่งบอกถึงการให้ความสำคัญของการดูแลเท้า เนื่องจากในศาสตร์การแพทย์แผนจีน เท้า เปรียบเสมือน หัวใจที่สอง ของร่างกาย เพราะเท้าเป็นจุดเริ่มต้น และสิ้นสุดของเส้นลมปราณหลายเส้น ซึ่งเชื่อมโยงกับอวัยวะภายในต่าง ๆ ทั่วร่างกายนั่นเอง เคล็ดลับการแช่เท้าแบบแพทย์แผนจีน ช่วงเวลาแช่เท้าที่เหมาะสม: 19.00 – 23.00 น. เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่เส้นลมปราณของตับ และไต ทำงานช้าลง การแช่เท้าในช่วงเวลานี้จะช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น น้ำแช่เท้าควรมีอุณหภูมิอยู่ที่ 38 องศา – 43 องศา เพราะหากน้ำร้อนเกินไป อาจทำให้ผิวแห้ง แตกได้ นอกจากนี้ ความร้อนที่สูงเกินไปยังทำให้หลอดเลือดขยายตัวมากเกินไป อาจลดการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ สมอง และไต ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ แช่ทิ้งไว้ประมาณ 15 – 30 นาที เพราะเป็นระยะเวลาที่เพียงพอให้ร่างกายเกิดการตอบสนองต่อความร้อน เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป อาจส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ แช่ให้รู้สึกมีเหงื่อซึมบริเวณหน้าผากเล็กน้อย เพราะเป็นปฏิกิริยาที่บ่งบอกว่าร่างกายกำลังตอบสนองต่อความร้อนอย่างเหมาะสม และในทางแพทย์แผนจีน เหงื่อซึมเป็นสัญญาณของการเคลื่อนที่ของพลังงาน (ชี่) ที่ดี […]

ปลดล็อกความเมื่อยล้า ฟื้นฟูร่างกาย ด้วยศาสตร์การแช่เท้าแบบแพทย์แผนจีน Read More »

5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับตรุษจีน ที่คุณอาจไม่เคยได้ยิน

5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับตรุษจีน ที่คุณอาจไม่เคยได้ยิน

ตรุษจีน เทศกาลแห่งความสุขและการเริ่มต้นใหม่ของชาวจีน และผู้คนทั่วโลกที่มีเชื้อสายจีน แต่ยังมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน มาดูกันว่าจะมีอะไรบ้าง ตำนานตรุษจีนกับสัตว์ร้าย เหนียน มีตำนานเล่าว่าสัตว์ร้าย ‘เหนียน’ จะออกมาทำร้ายคนในวันสิ้นฤดูหนาว ผู้คนจึงป้องกันโดยการใช้สีแดง ประดับไฟ จุดประทัด เมื่อเหนียนไปแล้ว ผู้คนจึงออกมาเฉลิมฉลองความปลอดภัยร่วมกัน การใช้สีแดงและการเฉลิมฉลองนี้จึงกลายเป็นที่มาของประเพณีตรุษจีนในปัจจุบัน ตรุษจีนไม่ได้มีแค่วันเดียว หลายคนเข้าใจผิดว่าตรุษจีนคือวันเดียวจบ แต่จริง ๆ แล้วเทศกาลนี้ยาวนานถึง 15 วัน เริ่มตั้งแต่วันต้อนรับเทวดา ไปจนถึงเทศกาลโคมไฟ แต่ละวันก็จะมีกิจกรรมและความเชื่อที่แตกต่างกันไป เรียกได้ว่าฉลองกันยาว ๆ รับความเฮงกันไปเต็ม ๆ ความแตกต่างระหว่าง อั่งเปา และ แต๊ะเอีย ‘อั่ง’ แปลว่า แดง และ ‘เปา’ แปลว่า ซอง เมื่อรวมกันจึงกลายเป็น ซองสีแดง ส่วนคำว่า แต๊ะเอีย หมายถึง เงินหรือสิ่งที่อยู่ในซอง โดยนิยมใส่เงินในซองให้เป็นเลขคู่ (ยกเว้นเลข 4 เพราะออกเสียงคล้ายคำว่าความตาย) หรือเลขเรียงเพื่อสื่อถึงความสิริมงคล เช่น 888 800

5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับตรุษจีน ที่คุณอาจไม่เคยได้ยิน Read More »

MPLM76 Post 08 1200x628px

ชี่ หรือ ลมปราณ คืออะไรกันแน่? ทำไมถึงเป็นพลังงานที่ขับเคลื่อนชีวิตเรา ?

ในศาสตร์การแพทย์แผนจีน “ชี่” (Qi) หรือ ลมปราณ คือพลังงานสำคัญที่หล่อเลี้ยงชีวิต และขับเคลื่อนทุกสิ่งที่ไหลเวียนอยู่ในร่างกาย และธรรมชาติรอบตัวเรา การมีชี่ที่สมดุล เป็นกุญแจสำคัญของสุขภาพที่ดี ในทางกลับกัน หากชี่ไม่สมดุลก็อาจส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วยหรืออาการผิดปกติต่าง ๆ ได้ ชี่ในร่างกายแบ่งเป็นหยิน และหยาง ชี่หยินมีลักษณะเย็น ให้ความสงบ และลดทอน ส่วนชี่หยางมีลักษณะร้อน ให้พลังงาน และกระตุ้น ทั้งสองทำงานประสานกันเพื่อรักษาสมดุลของร่างกาย ที่มาของ ชี่ ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน หน้าที่สำคัญของ ชี่ ดูแล ชี่ อย่างไรให้สมดุล? หากชี่ในร่างกายไม่สมดุล อาจเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้ เช่น ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือเกิดอาการเหนื่อยล้า ดังนั้น การดูแลชี่ในร่างกายให้สมดุล จึงไม่เป็นเพียงแค่การช่วยเสริมสุขภาพกาย และใจ แต่ยังช่วยให้คุณใช้ชีวิตได้อย่างเต็มศักยภาพนั่นเอง

ชี่ หรือ ลมปราณ คืออะไรกันแน่? ทำไมถึงเป็นพลังงานที่ขับเคลื่อนชีวิตเรา ? Read More »

ศาสตร์การแพทย์แผนจีนที่ได้รับความนิยม มีการรักษากี่วิธี และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

ศาสตร์การแพทย์แผนจีนที่ได้รับความนิยม มีการรักษากี่วิธี และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

การแพทย์แผนจีน เป็นศาสตร์การรักษาที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน มีเทคนิคการรักษา และดูแลสุขภาพที่หลากหลาย โดยมีหลักการสำคัญคือการปรับสมดุลของร่างกาย ซึ่งมองว่าร่างกายเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน การรักษาจึงมุ่งเน้นไปที่การปรับสมดุลของร่างกายแบบองค์รวมเป็นหลัก วิธีการรักษาแพทย์แผนจีนแต่ละแบบ การฝังเข็ม (Acupuncture) เป็นการใช้เข็มขนาดเล็กฝังลงบนจุดต่าง ๆ บนร่างกาย โดยจุดเหล่านี้จะถูกเลือกตามเส้นลมปราณที่สัมพันธ์กับอวัยวะหรืออาการของผู้ป่วย มีประโยชน์ดังนี้ การครอบแก้ว (Cupping Therapy) คือการใช้แก้วสุญญากาศครอบผิวหนัง เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ลดการคั่งของของเสีย มีประโยชน์ดังนี้ การกัวซา (Gua Sha) เป็นการรักษาแบบบำบัดโดยการใช้อุปกรณ์ เช่น เขาสัตว์ หยกหรือหิน ขูดผิวหนัง เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ขับพิษ มีประโยชน์ดังนี้ การนวดทุยหนา (Tui Na) เป็นการ นวด กดจุด ถู บีบ ดัดหรือกลิ้งบนจุดเส้นลมปราณตามร่างกาย เพื่อปรับสมดุลลมปราณภายใน กระตุ้นให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีประโยชน์ดังนี้ การรมยา (Moxibustion) คือการนำโกฐจุฬาลัมพามาจุดไฟแล้วจี้หรือรมบริเวณจุดฝังเข็ม เพื่อให้ความร้อนกระตุ้นการไหลเวียนของชี่ และเลือด พร้อมขจัดพิษในร่างกาย มีประโยชน์ดังนี้ แม้การรักษาแบบแพทย์แผนจีนจะเน้นการปรับสมดุลร่างกาย

ศาสตร์การแพทย์แผนจีนที่ได้รับความนิยม มีการรักษากี่วิธี และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง Read More »

อารมณ์ทั้ง 7 ส่งผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย

อารมณ์ทั้ง 7 ส่งผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย

ในทฤษฎีของการแพทย์แผนจีน อารมณ์ ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติ เกิดโรคหรือทำให้โรคเดิมแย่ลงได้ โดยอารมณ์ทั้ง 7 ได้แก่ โกรธ ยินดี เศร้าโศก วิตกกังวล ครุ่นคิด หวาดกลัว และตกใจ มีผลกระทบต่อทิศทางการไหลเวียนลมปราณของอวัยวะภายใน เพราะเมื่ออารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง และต่อเนื่องนาน ๆ จะส่งผลให้ร่างกายเสียสมดุล อารมณ์ทั้ง 7 มีผลกับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายต่างกันอย่างไรบ้าง ? อารมณ์โกรธ กระทบต่อตับ ทำให้ลมปราณในตับ ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เลือด และลมปราณไหลเวียนไม่สะดวก จนเกิดอาการปวดหัว เวียนหัว หงุดหงิดง่าย อาจมีปัญหาเรื่องกระเพาะอาหารร่วมด้วย เนื่องจากลมปราณตับไปกระทบม้าม อารมณ์ยินดี กระทบต่อหัวใจ หากดีใจมากจนเกินไป จะทำให้ลมปราณหัวใจกระจัดกระจาย ส่งผลให้ใจสั่น วิตกกังวล อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ อารมณ์เศร้า กระทบลมปราณปอด ทำให้ลมปราณในปอดอ่อนแอลง จนเกิดอาการหายใจลำบาก อ่อนเพลีย และกระทบอวัยวะอื่น ๆ ตามมา เช่นไปกระทบต่อลมปราณหัวใจ จนเกิดอาการใจสั่น เป็นต้น

อารมณ์ทั้ง 7 ส่งผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย Read More »

อย่าเข้าใกล้ต้นกล้วยในตอนกลางคืน...ถ้าไม่อยากเจอ ปาเจียวกุ่ย

อย่าเข้าใกล้ต้นกล้วยในตอนกลางคืน…ถ้าไม่อยากเจอ ปาเจียวกุ่ย

ปาเจียวกุ่ย (Ba jiao gui) หรือที่รู้จักกันในชื่อของ ผีต้นกล้วย เป็นวิญญาณที่สิงสถิตอยู่ในต้นกล้วยคล้ายผีตานีของไทย แต่มีความน่ากลัวกว่า มักปรากฏในรูปของหญิงสาวที่สวมใส่เครื่องแต่งกายสีเขียวหรือขาว ผมดำยาว มีใบหน้าที่สละสลวย ตามตำนานเล่าว่า ปาเจียวกุ่ย เกิดจากหญิงสาวที่ถูกฆาตกรรม และฝังไว้ที่ต้นกล้วย จนกลายมาเป็นวิญญาณอาฆาตที่คอยจ้องเล่นงานผู้ที่ผ่านไปมาบริเวณต้นกล้วยที่นางสิงสู่ หรือบางตำนานก็กล่าวไว้ว่า ปาเจียวกุ่ย เกิดจากต้นกล้วยที่สะสมพลังหยินจากพระจันทร์ และพลังหยางจากพระอาทิตย์ จนเมื่อได้รับเลือดของมนุษย์ วิญญาณในต้นกล้วยก็จะสามารถกลายร่างเป็นสิ่งที่เหมือนมนุษย์ผู้หญิงได้ เชื่อกันว่าหากมีคนนำด้ายแดงมาผูกไว้ที่ต้นกล้วย และปาเจียวกุ่ยไปเข้าฝันใครเพื่อให้นำด้ายแดงออก เธอจะตอบแทนคุณด้วยการให้เลขลอตเตอรี่ แต่หากคุณผิดคำสัญญาไม่ยอมนำด้ายแดงออก เมื่อใดก็ตามที่ด้ายแดงเสื่อม ก็เตรียมตัวพบกับเธออีกครั้งได้เลย

อย่าเข้าใกล้ต้นกล้วยในตอนกลางคืน…ถ้าไม่อยากเจอ ปาเจียวกุ่ย Read More »

มาดูกันว่า คุณเป็นคนแบบไหน ตามหลักแพทย์จีน ได้ที่นี่

มาดูกันว่า คุณเป็นคนแบบไหน ตามหลักแพทย์จีน ได้ที่นี่

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมบางคนถึงแข็งแรงอยู่เสมอ แต่บางคนกลับป่วยง่าย หรือทำไมบางคนถึงมีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับอยู่บ่อย ๆ ? นั่นเป็นเพราะคนแต่ละคนถูกจัดอยู่ในกลุ่มพื้นฐานสุขภาพที่แตกต่างกัน โดยอาศัยทฤษฎีหยิน-หยาง และทฤษฎีปัญจธาตุ รวมถึง ชี่ การแบ่งกลุ่มตามพื้นฐานสุขภาพของร่างกาย จะทำให้ง่ายต่อการดูแล ป้องกัน และรักษาโรคที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายได้ง่ายขึ้น รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงด้วยเช่นกัน กลุ่มต่าง ๆ ตามพื้นฐานสุขภาพของร่างกาย กลุ่ม สมดุล กลุ่ม หยางพร่อง กลุ่ม หยินพร่อง กลุ่ม ชี่พร่อง กลุ่ม ชี่อั้น กลุ่ม เสมหะชื้น กลุ่ม ร้อนชื้น กลุ่ม เลือดคั่ง การแบ่งกลุ่มตามหลักแพทย์จีนนั้นเป็นเพียงแนวทางเบื้องต้น เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีในระยะยาวเพียงเท่านั้น

มาดูกันว่า คุณเป็นคนแบบไหน ตามหลักแพทย์จีน ได้ที่นี่ Read More »

การฝังเข็มคืออะไร และช่วยดูแลอาการใดได้บ้าง

การฝังเข็มคืออะไร และช่วยดูแลอาการใดได้บ้าง

การฝังเข็ม เป็นศาสตร์การแพทย์แผนจีนโบราณ โดยอาศัยหลักการปรับสมดุลของพลังงานภายในร่างกาย ที่เรียกว่า “ชี่” ซึ่งเชื่อว่าเป็นพลังงานที่ไหลเวียนในร่างกาย รวมถึงปรับอวัยวะ และระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้กลับมาสมดุล อาการที่การฝังเข็มอาจช่วยบรรเทาได้ กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ควรรักษาด้วยการฝังเข็ม การฝังเข็ม เป็นเพียงทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพ และต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ และพื้นฐานร่างกายของตัวผู้ป่วย ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

การฝังเข็มคืออะไร และช่วยดูแลอาการใดได้บ้าง Read More »

MPLM72 Post 08 1200x628px

ปรับสมดุลร่างกาย เพิ่มพลังชีวิต ด้วย เต๋าอิ่น ศาสตร์โบราณที่ทรงพลัง

เต๋าอิ่น เป็นศาสตร์การฟื้นฟูร่างกายที่สืบทอดมาจากแพทย์แผนจีนโบราณ มุ่งเน้นการปรับสมดุลของร่างกาย และจิตใจ โดยอาศัยหลักการของพลังชี่ที่ไหลเวียนภายในร่างกาย ตัวอย่างท่าพื้นฐานเต๋าอิ่น ท่าล้างหน้า ใช้ฝ่ามือถูหน้าจากล่างขึ้นบนถึงหางคิ้ว นิ้วโป้งคลึงหลังใบหู นิ้วกลางกดคลึงร่องจมูกทั้งสองข้าง ทำซ้ำ 6-12 ครั้ง ท่าหมุนเอว ยืนแยกเท้าทั้งสองให้อยู่ระดับเดียวกับหัวไหล่ มือทั้งสองแตะเอว จากนั้นค่อย ๆ หมุนเอวซ้ายขวาเบา ๆ ทำซ้ำ 6-12 ครั้ง ท่ายกขา ยกขาซ้ายเสมือนก้าวไปข้างหน้า จากนั้นลดขาลงช้า ๆ พร้อมแกว่งแขนไป ทำสลับข้างซ้าย ขวา ซ้ำ 6-12 ครั้ง ประโยชน์ของการฝึกเต๋าอิ่น เต๋าอิ่น เป็นศาสตร์ที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการตึง เกร็งของกล้ามเนื้อหรือภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือดสมอง เต๋าอิ่นจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีส่วนช่วยบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยได้

ปรับสมดุลร่างกาย เพิ่มพลังชีวิต ด้วย เต๋าอิ่น ศาสตร์โบราณที่ทรงพลัง Read More »

เผาจื้อคืออะไร

เผาจื้อคืออะไร ? สำคัญอย่างไรต่อสมุนไพรจีน

การเผาจื้อ มีความหมายว่า การแปรรูป เป็นเทคนิคการเตรียมยาสมุนไพรแบบดั้งเดิมในศาสตร์การแพทย์แผนจีน โดยใช้ความร้อนเพื่อเปลี่ยนสภาพของสมุนไพร ทำให้สมุนไพรมีสรรพคุณทางยาที่แตกต่างออกไป และสะดวกต่อการใช้งานสมุนไพร โดยวิธีการเตรียมการเผาจื้อจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ประโยชน์ของการเผาจื้อ หลังจากผ่านกระบวนการเผาจื้อแล้ว สมุนไพรจะพร้อมสำหรับการนำไปใช้เป็นยา ยาที่ผ่านการเผาจื้อแล้วจึงมีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และมีรสชาติที่ดีขึ้นนั่นเอง การเผาจื้อ เป็นศาสตร์ที่ซับซ้อน ต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ และทักษะ เปรียบเสมือนภูมิปัญญาอันล้ำค่าของจีน ที่ผสมผสานศาสตร์แห่งการแพทย์ เภสัชกรรม และปรัชญาเข้าด้วยกันอย่างลงตัว

เผาจื้อคืออะไร ? สำคัญอย่างไรต่อสมุนไพรจีน Read More »

Scroll to Top