สมุนไพรฤทธิ์ร้อน-เย็น กินอย่างไรให้สุขภาพดี

สมุนไพรฤทธิ์ร้อน-เย็น กินอย่างไรให้สุขภาพดี?

ศาสตร์แพทย์แผนจีนกล่าวว่า ฤทธิ์ร้อนเป็นพลังหยาง และฤทธิ์เย็นเป็นพลังหยิน ทั้งสองอย่างต้องมีความสมดุลกัน หากร่างกายมีฤทธิ์ร้อนหรือเย็นมากเกินไป ก็จะนำไปสู่อาการเจ็บป่วยได้

1. ภาวะร่างกายร้อนเกิน มักมีอาการปวดหัว ตัวร้อน มือเท้าร้อน หน้าแดง มีสิวขึ้น เหงื่อออกมาก แผลร้อนใน เหงือกอักเสบ เจ็บคอ ริมฝีปากแห้ง ปัสสาวะน้อยและมีสีเข้ม ท้องผูก
2. ภาวะร่างกายเย็นเกิน มักมีอาการตัวเย็น หน้าซีด มือเท้าเย็น รู้สึกหนาวสั่น มีขี้ตามาก ตาแฉะ มีน้ำมูกใส ริมฝีปากซีด ปัสสาวะมีปริมาณมาก อุจจาระเหลวสีอ่อน

ปรับสมดุลร่างกาย ด้วยการทานสมุนไพรฤทธิ์ร้อน-เย็น

สมุนไพรฤทธิ์ร้อน-เย็น กินอย่างไรให้สุขภาพดี
สมุนไพรฤทธิ์ร้อน

สมุนไพรที่ทำให้ร่างกายเกิดความร้อน ช่วยกระตุ้นการทำงานของอวัยวะที่อ่อนแรง อ่อนล้า หมดพลัง ให้กลับมากระฉับกระเฉง
ตัวอย่างสมุนไพร เช่น ตังกุย ดอกคำฝอย สมอพิเภก กานพลู จันทน์เทศ ขิง กระชายดำ โป๊ยกั๊ก

สมุนไพรฤทธิ์เย็น

สมุนไพรที่ทำให้ร่างกายเกิดความเย็น ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ช่วยให้ร่างกายกลับมาทำงานได้เป็นปกติ
ตัวอย่างสมุนไพร เช่น บัวบก เก๋ากี้ ชะเอมเทศ เสกตี่ หล่อฮังก้วย ตังเซียม สมอไทย เทียนเกล็ดหอย

วิธีทานสมุนไพรอย่างไรให้สุขภาพดี

  • หากร่างกายมีภาวะที่ร้อนเกิน ให้ปรับสมดุลด้วยการทานสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น
  • หากร่างกายมีภาวะที่เย็นเกิน ให้ปรับสมดุลด้วยการทานสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน
Scroll to Top