ใครมีแผลหรือร้อนในที่ลิ้นบ่อย ร้อนในหายช้า ต้องระวัง! เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายอย่างมะเร็งก็ได้! แต่จริงหรือไม่ที่ร้อนในที่ลิ้นบ่อย ๆ จะเสี่ยงเป็นมะเร็งลิ้น? มาหาคำตอบพร้อมวิธีสังเกตและป้องกันได้ในบทความนี้
ร้อนในที่ลิ้นบ่อย ๆ เสี่ยงมะเร็งลิ้น! จริงหรือไม่?
ไม่เสมอไปค่ะ เพราะลักษณะของทั้งสองมีความคล้ายกันมาก โดยเราสามารถสังเกตได้จากอาการเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทั้งสองมีสาเหตุของการเกิดที่แตกต่างกัน
เป็นร้อนในที่ลิ้นบ่อย ๆ เกิดจากอะไร ?
สาเหตุของการเกิดร้อนในที่ลิ้นยังไม่แน่ชัด แต่อาจมีที่มาจากสาเหตุเหล่านี้ ซึ่งอาจเป็นที่มาของการติดเชื้อบริเวณลิ้นแบบเรื้อรังได้
- กัดลิ้นตัวเอง: เกิดแผลที่ลิ้นจากการเผลอกัดลิ้นขณะเคี้ยวอาหาร
- ทานอาหารที่มีกรดสูง: เช่น อาหารทะเล เนื้อสัตว์ หรือผลไม้รสเปรี้ยว หรืออาหารร้อนเกินไป เช่น ซุป หรือเครื่องดื่มร้อน
- อุปกรณ์ทันตกรรม: เช่น เหล็กจัดฟัน หรือฟันปลอมที่ไม่พอดีกับรูปฟัน ซึ่งทำให้เกิดการเสียดสีจนเกิดแผล
- สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์: สารเคมีในบุหรี่และแอลกอฮอล์สามารถระคายเคืองเนื้อเยื่อในช่องปาก ทำให้เกิดแผลร้อนในได้ง่ายขึ้น
โดยปกติร้อนในที่ลิ้นจะดีขึ้นเป็นปกติใน 1-2 อาทิตย์ แม้จะไม่ได้ทายารักษา แต่ถ้าหากเป็นร้อนในที่ลิ้นบ่อย ๆ เรื้อรัง ไม่หายสักที อาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพ
โรคมะเร็งลิ้น คืออะไร ?
มะเร็งลิ้นคือมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณลิ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่องปาก สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งบริเวณโคนลิ้นและตัวลิ้น โดยส่วนใหญ่มักเป็นชนิด มะเร็งสเควมัสเซลล์ (Squamous cell carcinoma) ซึ่งเป็นเซลล์มะเร็งผิวหนัง มีโอกาสแพร่กระจายไปส่วนอื่น ๆ ไม่สามารถรักษาให้หาย และมะเร็งลิ้นยังสามารถเกิดจากการติดเชื้อ HPV บางชนิดได้เช่นกัน
อาการของโรคมะเร็งลิ้น
- เป็นร้อนในที่ลิ้น หรือมีแผลที่ลิ้นบ่อย ๆ เรื้อรัง ไม่หายสักที
- เป็นตุ่มแดง และมีรอยสีขาวเล็ก ๆ ทั่วลิ้น
- เคี้ยวอาหารยาก มีปัญหาตอนทานอาหาร
- มีอาการชาที่ลิ้น และอาจมีอาการเจ็บคอ
- กราม ขากรรไกรบวม
วิธีสังเกตอันไหนร้อนใน อันไหนมะเร็งลิ้น ?
ทั้งสองอย่างมีลักษณะคล้ายกันมาก อาจทำให้เข้าใจผิดได้ ซึ่งมีวิธีสังเกตเบื้องต้นว่าเป็นร้อนใน หรือเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลิ้น
ลักษณะร้อนในที่ลิ้น
- เป็นตุ่มแผลสีขาวเล็ก ๆ หรือบางทีจะเป็นสีเหลือง รอบแผลเป็นสีแดง รู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัส
- สามารถหายได้ใน 1-2 อาทิตย์ โดยตุ่มจะไม่รุกรานไปส่วนอื่น
ลักษณะของโรคมะเร็งลิ้น
- เริ่มต้นจะเป็นรอยแผล หรือตุ่มเล็ก ๆ คล้ายร้อนใน แต่สักพักรอยแผลจะใหญ่ขึ้น และมีรอยสีขาวเป็นแถบทั่วทั้งลิ้น และอาจมีเลือดไหลด้วย
- รอยแผลจะเรื้อรัง ไม่หาย และอาจรุกรานไปส่วนอื่น ๆ ภายในโพรงปากได้
วิธีป้องกันโรคมะเร็งลิ้น
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลิ้นได้ง่าย
- ไม่สูบบุหรี่ หรือไม่เคี้ยวยาสูบ : สารเคมีในบุหรี่และยาสูบเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของมะเร็งช่องปากและลิ้น
- จำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ : การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง
- รักษาความสะอาดภายในช่องปาก : แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ และตรวจสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์เป็นประจำทุกปี
- หากใส่ฟันปลอม ควรใส่ให้พอดีกับฟัน : ฟันปลอมที่ไม่พอดีอาจทำให้เกิดการเสียดสีและเกิดแผลในช่องปากได้
- เมื่อมีเพศสัมพันธ์ ควรป้องกันเสมอ โดยเฉพาะการออรัลเซ็กส์หรือการร่วมเพศทางปาก : การติดเชื้อ HPV เป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งของมะเร็งช่องปากและลิ้น
- ปรับพฤติกรรมการกิน : ทานอาหารรสชาติกลาง ๆ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารร้อนจัด และอาหารแปรรูป
- รักษาสมดุลอุณหภูมิในร่างกาย : การรักษาสมดุลอุณหภูมิในร่างกายสามารถช่วยลดความเสี่ยงของร้อนในและมะเร็งได้
และการปรับสมดุลอุณหภูมิภายในร่างกายสามารถช่วยเรื่องปัญหาของร้อนใน และลดการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้เช่นกัน และสมุนไพรที่จะช่วยปรับสมดุลจากภายใน
เราขอแนะนำ “จีเซาะตาง” สมุนไพรที่จะช่วยปรับสมดุลหยินหยาง (อุณหภูมิในร่างกาย) ให้คงที่ ช่วยแก้ร้อนใน ฆ่าเชื้อบริเวณแผล
รู้ทัน ! สัญญาณเตือนสุขภาพ ป้องกันไว้ก่อนจะสายเกินไป… อ่านบทความความรู้สุขภาพ และเรื่องสมุนไพรเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของเรา baepaeliang.com
ที่มาข้อมูล :
Mayo Clinic : Tongue cancer
Cleveland Clinic : Canker Sore
Healthline : Acidic Foods and their Health Effects