ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันตัวร้ายที่อยู่ในอาหารเกือบทุกเมนูที่เราชอบ หากไม่ใส่ใจสุขภาพดี ๆ เจ้าไขมันนี้จะส่งผลอันตรายต่อร่างกายมากกว่าที่คิด…อาจถึงขั้นอันตรายต่อส่วนสำคัญของร่างกายอย่าง หัวและหลอดเลือดได้เลย !
ไตรกลีเซอไรด์ คืออะไร ?
ไขมันอีกประเภทที่เกิดจากกรดไขมันต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็น มารวมกัน มักมาจากการกินอาหารที่มีไขมัน คาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลมาก
เมื่อกินอาหารดังกล่าวเข้าสู่ร่างกาย ไขมันเหล่านั้นจะเปลี่ยนเป็นพลังงานให้ร่างกายทันที และไขมันส่วนที่ไม่จำเป็นก็จะกลายเป็นไตรกลีเซอไรด์ และสะสมไว้ในร่างกายส่วนอื่น ๆ เพื่อรอการนำพลังงานเหล่านั้นไปใช้งานในครั้งถัดไป
ไตรกลีเซอไรด์ กับ คอเลสเตอรอล !
- ไตรกลีเซอไรด์ : ไขมันที่ใช้เป็นพลังงานร่างกาย เมื่อไม่ถูกนำไปใช้งาน จะสะสมไว้อยู่ตามเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อรอการนำไปใช้ของร่างกาย
- คอเลสเตอรอล : ไขมันที่จำเป็นต่อระบบเผาผลาญ และเป็นส่วนประกอบของเซลล์ และฮอร์โมน
ไตรกลีเซอไรด์สูง ส่งผลต่อหัวใจและหลอดเลือดยังไง ?
ไตรกลีเซอไรด์จะอยู่ในกระแสเลือดในหลอดเลือดแดง เมื่อมีจำนวนไตรกลีเซอไรด์มากเกินความจำเป็นของร่างกาย หรือไม่ถูกนำไปใช้เป็นพลังงาน ก็เหมือนเป็นเศษตกค้างไปติดอยู่ที่ผนังหลอดเลือด
ซึ่งอาจทำให้หลอดเลือดเกิดการอักเสบ หลอดเลือดแข็ง หรือมีไขมันอุดตันในหลอดเลือดได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อการสูบฉีดเลือดของหัวใจ และเกิดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ และภาวะหัวใจวายได้นั่นเอง
โรคและภาวะผิดปกติจากไตรกลีเซอไรด์
- โรคหัวใจ
- ภาวะหัวใจวาย
- โรคหลอดเลือดในสมอง
- โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตัน
- ความดันโลหิตสูง
- ระดับคอเลสเตอรอลผิดปกติ
- โรคอ้วน และภาวะแทรกซ้อนจากโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันพอกตับ เป็นต้น
วิธีลดไตรกลีเซอไรด์ในร่างกาย
ในทางการแพทย์มียาที่สามารถช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ได้ แต่ก็มีการแนะนำให้ปรับพฤติกรรมบางอย่าง โดยเฉพาะการกินอาหาร เพราะไตรกลีเซอไรด์จะมาจากอาหารเป็นส่วนใหญ่ เช่น
- ลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ของทอด เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารแปรรูป
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น พวกของหวานต่าง ๆ น้ำอัดลม น้ำผลไม้
- รับประทานปลาให้มากขึ้น โดยเฉพาะปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น ปลาทู ปลาทูน่า ปลาแซลมอน จะช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ได้
- ลดการดื่มแอลกอฮอล์ และลดการสูบบุหรี่ เพื่อลดการหดตัวของหลอดเลือดไม่ให้เพิ่มการอุดตันของไขมัน และลดความดันโลหิตสูง
ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลนครธน : ภาวะไขมันในเลือดสูง คุมอาหารแบบไหนช่วยได้
หรือการทานสมุนไพรบางชนิด ที่มีสรรพคุณเกี่ยวกับการบำรุงระบบไหลเวียนเลือด และลดไขมันในเลือด ก็สามารถทำได้เช่นกัน
เลือกเวชภัณฑ์สมุนไพรจีน อานเก็งอี้ สมุนไพรที่จะช่วยลดไขมันในเลือด ลดการอุดตันและการสะสมไขมันที่ไม่จำเป็น และยังช่วยบำรุงระบบไหลเวียนเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ยังสามารถทานควบคู่กับยาแผนปัจจุบันได้อีกด้วย
รู้ทัน ! สัญญาณเตือนสุขภาพ ป้องกันไว้ก่อนจะสายเกินไป… อ่านบทความความรู้สุขภาพ และเรื่องสมุนไพรเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของเรา baepaeliang.com
ที่มาข้อมูล :
Cleve clinic : Triglycerides and Heart Health
Mayo Clinic : Triglycerides: Why do they matter?
Better Health Channel by the Department of Health, State Government of Victoria, Australia : Triglycerides