เด็กทารกร้องไห้ไม่หยุด แบบไม่ทราบสาเหตุ แก้ไขยังไง ?

เด็กทารกร้องไห้ไม่หยุด แบบไม่ทราบสาเหตุ แก้ไขยังไง ?

เพราะเด็กทารกไม่สามารถพูดบอกกับเราได้ การร้องไห้จึงเป็นพฤติกรรมที่จะบ่งบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นในตัวเด็ก ๆ และการที่พวกเขาร้องไห้ไม่หยุด ร้องไห้ขึ้นมาเฉย ๆ โดยที่เราไม่ทราบสาเหตุ เกิดจากอะไรได้บ้าง ?

ทารกร้องไห้ไม่หยุด เกิดจากอะไร ?

การที่เด็กทารกร้องไห้ออกมา เป็นเหมือนสัญญาณเตือนบางอย่าง ที่กำลังบอกความผิดปกติของพวกน้องอยู่ ซึ่งอาจเกิดได้จาก 2 ภาวะนี้ !

1.ภาวะโคลิค (Colic)

ภาวะโคลิค (Colic) หรือภาวะที่เด็กจะร้องไห้เป็นเวลานานต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงเย็นหรือกลางคืน และไม่มีสาเหตุของการเกิดภาวะนี้ที่แน่ชัด มักเกิดในช่วงอายุ 1-2 เดือน แต่ภาวะนี้สามารถหายเองได้เมื่อเด็กโตแล้ว 

วิธีสังเกตภาวะโคลิค (Colic) ในเด็กทารก

  • ร้องไห้เสียงแหลมสูง หรือร้องจนเสียงแหบ นานมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน
  • งอขาขึ้นชิดหน้าท้อง
  • กำมือแน่น
  • หน้าบูดบึ้ง หน้าแดง

ทารกที่มีภาวะโคลิคอาจสังเกตได้ยาก  เพราะมีความคล้ายคลึงกับการร้องไห้เพื่อเรียกร้องความสนใจจากตัวคุณพ่อ-คุณแม่ หรือรู้สึกไม่สบายตัวของเด็กทารกเอง

2.อาการป่วย และภาวะอื่น ๆ

  • ตัวร้อน มีไข้ ทำให้ทารกรู้สึกไม่สบายตัว
  • หายใจไม่ออก หายใจครืดคราด 
  • ทารกปวดท้อง ท้องอืด 
  • มีบาดแผล
  • หิว
  • ง่วง เหนื่อยล้า
  • ปัสสาวะ หรือขับถ่าย

โดยการร้องไห้ที่เกิดจากอาการป่วย หรือภาวะอื่นจะมีลักษณะที่ต่างออกไป ซึ่งสามารถสังเกตได้จากลักษณะการร้อง ท่าทางของเด็กทารกที่แสดงออกมา เช่น ถ้าเด็กทารกร้องไม่สุดเสียง และร้องเป็นเวลานาน ๆ ปลอบยังไงก็ไม่หยุด ประกอบกับท่าทางที่เหนื่อยล้า และอุณหภูมิร่างกายผิดปกติ จะหมายถึงว่าเด็กทารกมีอาการป่วย

วิธีช่วยให้ทารกหยุดร้องไห้

  • อุ้มขึ้นแล้วโยกไป-มาเบาๆ และใช้มือลูบหลัง หรือวางลงที่เปลแล้วแกว่งเปลเบา ๆ เพื่อให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย
  • ห่อตัวเด็กทารกด้วยผ้านุ่ม ๆ 
  • ทำให้เรอหลังทานนมเสร็จ ป้องกันเด็กท้องอืด
  • หากมีอาการป่วย หรือภาวะผิดปกติ เช่น ตัวร้อน ไอ มีน้ำมูก ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที
  • ดูแลด้วยสมุนไพรสำหรับเด็ก “ซิกหลี่ซั้ว” ซึ่งเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วย…

ความต้องการของเด็กทารกนั้นจะถูกแสดงออกมาผ่านการร้องไห้ และท่าทาง ซึ่งจะมีลักษณะที่แตกต่างออกไป และการร้องไห้สามารถบอกได้ด้วยว่าเด็กทารกอาจรู้สึกไม่สบายตัว หรือมีอาการป่วย 

ฉะนั้นคุณพ่อ-คุณแม่อาจต้องหมั่นสังเกตดูอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันภาวะผิดปกติที่ส่งผลต่อสุขภาพของเด็กในระยะยาวได้นั่นเอง

ที่มาข้อมูล :

Scroll to Top