เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ทำไมบางคนเหงื่อออกเยอะ บางคนแทบไม่มีเหงื่อเลยทั้ง ๆ ที่เผชิญสภาพอากาศเดียวกันหรือทำกิจกรรมเหมือน ๆ กัน
เหงื่อออก เป็นกลไกตามธรรมชาติของร่างกายเพื่อระบายความร้อน และควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้คงที่
เหงื่อออกมาก
เป็นภาวะที่ร่างกายผลิตเหงื่อออกมากเกินจำเป็น เนื่องจากร่างกายไวต่อการกระตุ้นจากสิ่งต่าง ๆ เช่น อาหารที่มีรสจัด เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ซึ่งการมีเหงื่อออกมากอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางชนิด เช่น
- โรคไทรอยด์เป็นพิษ
- โรคเบาหวาน
- อาการวัยทอง
เหงื่อออกตอนกลางคืน
เป็นภาวะที่มีเหงื่อออกมากผิดปกติเฉพาะตอนกลางคืน แม้ไม่มีปัจจัยอื่นมากระตุ้นให้เหงื่อออก ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
- การติดเชื้อ
- โรคมะเร็ง
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
เหงื่อออกน้อยผิดปกติ
หรือเรียกว่าภาวะขาดเหงื่อ คือภาวะที่ร่างกายไม่สามารถผลิตเหงื่อได้ตามปกติ จนทำให้ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนออกไปได้ จนอาจนำไปสู่โรคลมแดด ภาวะเหงื่อออกน้อย อาจเป็นสัญญาณเตือนของ
- ภาวะขาดน้ำ
- โรคเบาหวาน
- โรคพาร์กินสัน
วิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้น
- เมื่อมีเหงื่อออกมากผิดปกติ – อาบน้ำให้สะอาด สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี
- เมื่อมีเหงื่อออกตอนกลางคืน – ปรับอุณหภูมิห้องให้เย็น สบาย สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี
- เมื่อมีเหงื่อออกน้อยผิดปกติ – ดื่มน้ำเปล่าเพื่อลดความร้อนสะสมภายในร่างกาย
แม้การมีเหงื่อออกมากหรือน้อยจะเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายของโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น แต่ก็ไม่เสมอไป เพราะเหงื่อถือเป็นกลไกอย่างหนึ่งของร่างกายที่สำคัญและจำเป็น
หากมีความกังวลใจ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษาต่ออย่างถูกต้องตรงจุดต่อไป