ไอ มีเสมหะ ระคายเคืองคอ จากโรคกรดไหลย้อน !

ไอ มีเสมหะ ระคายเคืองคอ จากโรคกรดไหลย้อน !

ไอ มีเสมหะ ระคายเคืองในคอ อาจไม่ได้เกิดจากอาการไข้อย่างเดียว ! โรคกรดไหลย้อนเองก็สามารถทำให้เกิดอาการไอได้เช่นกัน โดยจะรียกกันว่า โรคกรดไหลย้อนขึ้นคอ หรือ Laryngopharyngeal reflux (LPR)

กรดไหลย้อนขึ้นคอ (LPR) คืออะไร ?

ภาวะกรดไหลย้อนขึ้นคอ (Laryngopharyngeal reflux) คือภาวะที่น้ำย่อยไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหารเหนือช่วงอก เช่น ลำคอส่วนบน คอหอย หรือบริเวณใกล้กับกล่องเสียง ทำให้เกิดอาการระคายเคืองบริเวณลำคอ มีอาการไอ มีเสมหะ และอาจส่งผลให้มีน้ำมูก และขัดจมูกได้อีกด้วย

กรดไหลย้อนขึ้นคอ กับ กรดไหลย้อนทั่วไป ต่างกันยังไง ?

กรดไหลย้อนขึ้นคอ คือ กรดไหลย้อนขั้นที่อันตรายกว่า เพราะน้ำย่อยจะอยู่ในหลอดอาหารส่วนบนไปแล้ว คือ ลำคอ แทนที่จะอยู่ในหลอดอาหารช่วงอกเหมือนกรดไหลย้อนทั่วไป ซึ่งกรดไหลย้อนขึ้นคอ อาจความเสี่ยงติดเชื้อบริเวณลำคอได้

กรดไหลย้อนขึ้นคอ

  • น้ำย่อยไหลย้อนขึ้นสูงกว่าช่วงอก เช่น บริเวณคอหอย หรือบริเวณใกล้กับกล่องเสียง
  • เสียงแหบ , กระแอมไออยู่ตลอด
  • ระคายเคืองในคอ จมูก 
  • ไอ มีเสมหะ และอาจมีน้ำมูกร่วมด้วย

กรดไหลย้อนทั่วไป

  • น้ำย่อยไหลย้อนขึ้นบริเวณช่วงอก
  • แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก
  • คลื่นไส้ ท้องอืด

Tips: หูรูดหลอดอาหารส่วนบนและส่วนล่าง เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน โดยหูรูดหลอดอาหารส่วนบนจะเชื่อมกับลำคอ และหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างจะเชื่อมกับกระเพาะ

สาเหตุของกรดไหลย้อนขึ้นคอ

กรดไหลย้อนขึ้นคอ หรือกรดไหลย้อนทั่วไป อาจเกิดได้จากการบีบตัวของกระเพาะ หรืออาจเกิดจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหูรูดในหลอดอาหารส่วนบนและส่วนล่าง 

โดยกรดไหลย้อนทั่วจะเกิดจากหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างมีปัญหา ทำให้น้ำย่อยจากกระเพาะถูกปล่อยไปที่หลอดอาหาร ส่วนกรดไหลย้อนขึ้นคอจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อน้ำย่อยที่อยู่ในหลอดอาหารอยู่แล้ว ถูกปล่อยผ่านหูรูดหลอดอาหารส่วนบนไป เข้าสู่บริเวณลำคอนั่นเอง

ปัจจัยที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อนขึ้นคอ 

  • ยาบางชนิด เช่น ยาต้านซึมเศร้า
  • อาหาร หรือเครื่องดื่มบางประเภท เช่น
    • เครื่องดื่ม เช่น คาเฟอีน หรือแอลกอฮอลล์
    • อาหาร เช่น มิ้นต์ กระเทียม หรือหัวหอม
  • เอนตัวนอนหลังจากกินข้วเสร็จได้ไม่นาน

วิธีดูแลเมื่อเป็นกรดไหลย้อน

  • ลดอาหารรสจัด รสเผ็ด และผลไม้รสเปรี้ยว รวมถึงอาหารที่มีไขมัน
  • กินอาหารให้เป็นเวลา และงดการทานอาหารก่อนเขานอน 1-2 ชั่วโมง
  • ปรับท่านอนให้ตะแคงซ้าย หลีกเลี่ยงการนอนหงาย หรือท่านอนที่ศีรษะต่ำกว่าท้อง
  • ดื่มน้ำบ่อย ๆ ลดการเกิดเสมหะ

ที่มาข้อมูล :

Scroll to Top