การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพกายและใจของเราทุกคน แต่รู้หรือไม่ว่า “เพียงพอ” ในแต่ละช่วงวัยนั้นแตกต่างกันไป ?
ชั่วโมงการนอนหลับที่เพียงพอของแต่ละวัย
- ทารก (0 – 1 ปี) ระยะเวลานอนที่เหมาะสม คือ 14 – 17 ชั่วโมง
- เด็กเล็ก (1 – 2 ปี) ระยะเวลานอนที่เหมาะสม คือ 11 – 14 ชั่วโมง
- เด็กวัยเรียน (3 – 5 ปี) ระยะเวลานอนที่เหมาะสม คือ 10 – 13 ชั่วโมง
- เด็กโต (6 – 13 ปี) ระยะเวลานอนที่เหมาะสม คือ 9 – 11 ชั่วโมง
- วัยรุ่น (14 – 17 ปี) ระยะเวลานอนที่เหมาะสม คือ 8 – 10 ชั่วโมง
- ผู้ใหญ่ (18 – 25 ปี) ระยะเวลานอนที่เหมาะสม คือ 7 – 9 ชั่วโมง
- ผู้ใหญ่วัยกลางคน (26 – 64 ปี) ระยะเวลานอนที่เหมาะสม คือ 7 – 9 ชั่วโมง
- ผู้สูงอายุ (65 ปีขึ้นไป) ระยะเวลานอนที่เหมาะสม คือ 7 – 8 ชั่วโมง
การนอนหลับไม่เพียงพออาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้น และระยะยาวได้ เช่น
- ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ทำให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเองได้ไม่เต็มที่
- สมาธิสั้นลง ประสิทธิภาพในการจดจำ และเรียนรู้ลดลง
- ระบบเผาผลาญทำงานได้ช้าลง เสี่ยงต่อโรคอ้วนได้ง่ายขึ้น
- เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่ายขึ้น
เคล็ดลับการนอนให้เพียงพอ และมีประสิทธิภาพ
- เข้านอน และตื่นนอนให้เป็นเวลาอย่างสม่ำเสมอ
- สร้างบรรยากาศห้องนอนให้มืด เงียบ และเย็นสบาย
- หลีกเลี่ยงคาเฟอีนและอาหารหนักช่วงก่อนนอน
- ผ่อนคลายก่อนนอน เช่น อาบน้ำอุ่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง
นอกจากการนอนให้เพียงพอตามช่วงวัย คุณภาพการนอน และเวลาที่เข้านอน ก็ส่งผลต่อสุขภาพไม่แพ้กัน ดังนั้น การนอนที่มีคุณภาพ ไม่ใช่แค่ปริมาณ แต่รวมถึงช่วงเวลานอน และสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมด้วยนั่นเอง