ความดันโลหิตสูง เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ?

ความดันโลหิตสูง เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ?

ความดันโลหิตสูง คืออะไร ?

ความดันโลหิตสูง  (Hypertension) เป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดมากภาวะหนึ่ง ซึ่งเกิดได้จากการกินอาหาร บางประเภทมากเกินไป หรือมีพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยค่าความดันสูงจะอยู่ที่ 130/80 ขึ้นไป (ค่าความดันปกติจะอยู่ที่ 120/80 หรือต่ำกว่านั้น)  ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้นั่นเอง

ดูยังไง…ว่าค่าความดันโลหิตสูง !

ค่าความดันโลหิตเท่าไหร่ถึงสูง

อาการของความดันโลหิตสูง

ในระยะแรก ความดันโลหิตสูงมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อความดันโลหิตสูงขึ้นมาก อาจมีอาการดังนี้

  • ปวดศีรษะ โดยเฉพาะบริเวณท้ายทอย
  • มึนงง เวียนศีรษะ
  • ใจสั่น
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  • หายใจลำบาก
  • เลือดกำเดาไหล

ความดันโลหิตสูง อันตรายแค่ไหน ?

ความดันโลหิตสูง อันตรายต่อสุขภาพระยะยาวเป็นอย่างมาก และมักไม่แสดงอาการที่ชัดเจน หรือจะมีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น ปวดศีรษะบริเวณท้ายทอย มึนงง ใจสั่น คลื่นไส้ และหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม ซึ่งเป็นอาการที่เกิดได้ทั่วไปมาก ๆ ทำให้หลายคนอาจไม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะนี้อยู่

โดยภาวะความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่เกิดจากการบีบตัวของหัวใจ สูบฉีดเลือดให้ไหลเวียนในร่างกายเร็วและแรง ทำให้ภาวะนี้อาจมีโรคอื่น ๆ แทรกซ้อนตามมาได้ ซึ่งเกิดได้จากหลอดเลือดแข็งตัว หรือมีไขมันอุดตันในเส้นเลือด

ความดันโลหิตสูง อาจเสี่ยงเกิดโรคเหล่านี้…

  • โรคหัวใจ
  • โรคหลอดเหลือดในสมองแตก
  • โรคไต
  • โรคลิ้นหัวใจรั่ว
  • ปัญหาสายตา

ซึ่งโรคเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากความดันโลหิตสูงโดยตรง ต้องมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคเหล่านี้ร่วมด้วย หรือบางคนที่มีโรคเหล่านี้อยู่ ก็ยิ่งส่งผลต่ออาการมากขึ้น

ใครบ้างที่เสี่ยงมีความดันโลหิตสูง

  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่สูบบุหรี่
  • ผู้ที่ดื่มสุรา
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน

วิธีลดความดันโลหิตสูง

ออกกำลังกายเป็นประจำ

การออกกำลังกายจะช่วยให้ค่าความดันต่ำลงได้ และยังช่วยลดน้ำหนักให้อยู่ในเกรณ์ปกติ ซึ่งจะลดความเสี่ยงที่จะกลับไปมีความดันสูง 

โดยเน้นออกกำลังกายแบบแอโรบิก ที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ อย่างต่อเนื่อง เช่น

  • เดินเร็ว โดยเริ่มจากวันละ 10 นาที และค่อย ๆ เพิ่มเป็น 30 นาที
  • วิ่งเหยาะ ๆ สลับเดินเร็ว และ วิ่ง
  • ว่ายน้ำ เลือกท่าที่ถนัด เวลา 15-20 นาที
  • ปั่นจักรยาน ปรับความหนักเบาได้
  • เต้นแอโรบิก

Tips: สำหรับผู้ที่มีภาวะอ้วนจะมีความเสี่ยงที่จะมีความดันโลหิตสูงมาก ถ้าใครอยากรู้ว่าเราเสี่ยงมีความดันสูงไหม ให้ลองวัดรอบเอวดู ! 

  • ผู้ชายมีรอบเอวมากกว่า 40 นิ้ว = เสี่ยงเป็นความดันสูง
  • ผู้หญิงที่มีรอบเอวมากกว่า 35 นิ้ว = เสี่ยงเป็นความดันสูง

ลดโซเดียม

ควรทานอาหารที่มีประโยชน์ และควรลดอาหารที่มีโซเดียมสูง เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำ เพิ่มปริมาณเลือด และทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น รวมทั้งลดอาหารที่มีคอลเลสเตรอลสูง เพราะสามารถทำให้มีความดันสูงขึ้นได้

อาหารที่มีโซเดียมสูง

  • เครื่องปรุงรส เช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสปรุงรส ผงชูรส
  • เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น แฮม ไส้กรอก
  • ของมักดอง เช่น แตงกวาดอง แซลมอนดอง
  • ขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ 

ลดการสูบบุหรี่ และแอลกอฮอลล์

ลดการสูบบุหรี่ และแอลกอฮอลล์ จะช่วยลดค่าความดันโลหิตสูงได้ เพราะสารนิโคติน ทำให้หลอดเลือดหดตัว เลือดไหลเวียนไปยังหัวใจได้ไม่สะดวก ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดเร็วขึ้น ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง 

จัดการความเครียด

ความเครียดจะทำให้ร่างกายหลั่งสารคริติซอล ทำให้มีการสูบฉีดเลือดมากขึ้นส่งผลต่อความดันโลหิตที่สูงขึ้นได้

วิธีลดความเครียด

  • ฝึกหายใจลึกๆ
  • ทำสมาธิ
  • ทำงานอดิเรกที่ชอบ
  • ออกกำลังกาย
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • พูดคุยกับคนใกล้ชิด

การเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงของความดันโลหิตได้เห็นผลที่สุด และควรทำอย่างสม่ำเสมอ เพราะความดันโลหิตมีสิทธิที่ค่าจะสูงขึ้นได้อีก ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพระยะยาว 

ที่มาข้อมูล :

Scroll to Top