ปวดแบบไหนเข้าข่าย ออฟฟิศซินโดรม

ปวดแบบไหนเข้าข่าย ออฟฟิศซินโดรม

หลายคนอาจจำเป็นต้องกลับมาทำงานที่บ้าน (Work From Home) อีกครั้ง เนื่องจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19

หากนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ โดยไม่ได้ขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถ ก็จะทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึงและอักเสบ และมีความเสี่ยงเป็น ออฟฟิศซินโดรม ได้

มาดูกัน! อาการปวดแบบไหน เสี่ยง ออฟฟิศซินโดรม

  1. ปวดศีรษะเรื้อรัง
    ปวดศีรษะอาจปวดร้าวถึงตา บางทีมีอาการปวดไมเกรนบ่อย ๆ เนื่องจากใช้สายตาเป็นเวลานาน หรือมีเครียดสะสมและพักผ่อนน้อย ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้
  2. ปวดตึงต้นคอ บ่า ไหล่
    การก้มหน้าเล่นมือถือ การนั่งไหล่ห่อในท่าเดิมนาน ๆ ทำให้กล้ามเนื้อต้นคอ บ่า ไหล่เกร็งอยู่ตลอด กล้ามเนื้อจะเกร็งตัวสะสมจนเกิดเป็นก้อนเนื้ออักเสบ ทำให้ปวดเรื้อรังและรุนแรงเรื่อย ๆ อาจถึงขั้นอยู่เฉย ๆ ก็ปวดขึ้นมาเองได้
  3. ปวดแขน มือชา นิ้วล็อก
    เกิดจากการจับเมาส์ พิมพ์เอกสารในท่าเดิม ๆ นาน ๆ ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นจนอักเสบเกิดเป็นพังผืด ทำให้ปวดปลายประสาท นิ้วหรือข้อมือล็อกได้
  4. ปวดหลังเป็น ๆ หาย ๆ
    เกิดจากการนั่งหลังค่อม การยืนใส่รองเท้าส้นสูงนาน ๆ การก้มยกของหนักผิดท่าเป็นประจำ หรือการออกกำลังกายหักโหม ล้วนเป็นสาเหตุทำให้ปวดหลัง
  5. ขาตึง ขาเหน็บชา
    การนั่งนานเกินไป ก็จะทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับ ส่งผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ จึงเกิดอาการเหน็บชาได้ง่าย
  6. ปวดเมื่อยจนนอนไม่หลับ
    การปวดจนนอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท ถือว่าเข้าขั้นรุนแรง เกิดจากการความเครียด ความวิตกกังวล รวมถึงมีอาการปวดเมื่อยและปวดศีรษะมารบกวนในเวลานอนเป็นระยะ

เพื่อป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรมเหล่านี้ ขณะทำงานอยู่ที่บ้าน ต้องหาตัวช่วย!

แนะนำเลย! อัวะ ล้ก อี้ ของ บริษัท แบแป๊ะเลี้ยง ช่วยกระตุ้นให้เลือดลมไหลเวียนได้สะดวก ทำให้กล้ามเนื้อ-เส้นเอ็นที่ตึงคลายตัวลง อาการปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายก็จะดีขึ้น

ช่วยบรรเทาอาการดังนี้

  • บรรเทาปวดเมื่อย
  • คลายเส้น
  • ลดอาการเส้นตึง
Scroll to Top