สงสัยมั้ย!? ควบคุมอาหารก็แล้ว ออกกำลังกายก็แล้ว แต่ทำไมน้ำหนักยังไม่ลงเสียที
แท้จริงแล้วอาจเกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย ส่งผลให้มีรูปร่างที่แตกต่างกัน นอกจากจะลดไขมันได้ยากแล้ว ยังมีผลกระทบต่อระบบภายในของผู้หญิงอีกด้วย
วันนี้แอดมินเลยจะมาอธิบายความแตกต่างของรูปร่างที่สัมพันธ์กับฮอร์โมนให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามนี้
- Apple Shape หุ่นทรงแอปเปิล Adrenal Type รูปร่างแบบต่อมหมวกไต
- ลักษณะ : ช่วงบนใหญ่ รอบเอวใหญ่ ไหล่กว้างกว่าสะโพก แต่ต้นขาดูเล็กลงมา
- ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง : ฮอร์โมนคอร์ติซอล เกิดจากความเครียดสะสมเป็นตัวกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตทำงานมากเกินไป ส่งผลให้การเผาผลาญและการสะสมไขมันไม่สมดุล ซึ่งเป็นเหตุทำให้มีไขมันที่หน้าท้อง
- ภาวะเสี่ยง : อ้วนลงพุงหรือภาวะเมแทบอลิกซินโดรม ต่อมหมวกไตล้า ปวดประจำเดือนบ่อย
- วิธีป้องกัน : พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด ทานอาหารในปริมาณที่น้อยแต่หลายมื้อ ออกกำลังกายเบา ๆ หรือยกเวทน้ำหนักเบา ๆ เพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย
- Round Shape หุ่นทรงกลม Thyroid Type รูปร่างแบบไทรอยด์
- ลักษณะ : รูปร่างคล้ายแอปเปิล แต่จะใหญ่ทุกสัดส่วน
- ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง : ฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้ไม่เพียงพอต่อการนำไปเผาผลาญพลังงานในร่างกาย
- ภาวะเสี่ยง : ประจำเดือนมากะปริบกะปรอย เกิดภาวะไข่ไม่ตก ส่งผลให้มีลูกยาก
- วิธีป้องกัน : เน้นการบริโภคอาหารที่หลากหลาย ฟื้นฟูด้วยการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอเบา ๆ เพื่อปรับสมดุลและกระตุ้นฮอร์โมนในร่างกาย
- Pear Shape หุ่นทรงลูกแพร์ Ovary Type รูปร่างแบบรังไข่
- ลักษณะ : ช่วงบนแคบ สะโพกและต้นขาใหญ่กว้างกว่าช่วงไหล่
- ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง : ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนลดลง แต่ฮอร์โมนเอสโตรเจนทำงานโดดเด่น มีความผิดปกติที่รังไข่
- ภาวะเสี่ยง : ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มะเร็งรังไข่ ซีสต์ที่รังไข่ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ
- วิธีป้องกัน : ทานอาหารพวกคลีนฟู้ด ผักออร์แกนิคต่าง ๆ เพื่อจะได้ลดสารพิษในร่างกาย ควรเน้นการสร้างความแข็งแรงหรือคาร์ดิโอที่สะโพกและต้นขา
ฮอร์โมน เป็นกุญแจสำคัญสู่การมีสุขภาพที่ดี ถ้าฮอร์โมนขาดความสมดุล จะส่งผลให้ร่างกายเสื่อมเร็วก่อนวัย และเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ
เพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนให้เป็นปกติ ขอแนะนำให้รับประทาน “แปะห่งอี้” จาก บริษัท แบแปะเลี้ยง สกัดจากสมุนไพรแท้ 100% ช่วยบำรุงสุขภาพจากภายในสู่ภายนอก
ช่วยดูแลสุขภาพสตรี ดังนี้
- บำรุงและกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตให้ดียิ่งขึ้น
- ปรับสมดุลของฮอร์โมนให้กลับมาเป็นปกติ
- บรรเทาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ
- บำรุงมดลูก เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการมีบุตร
- บรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน
- เสริมสร้าง “ฮอร์โมนเอสโทรเจน” ผิวพรรณเปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวล