ตำราสุขภาพดี

ตำราสุขภาพดี

เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว อย่าให้โรคเหล่านี้มาเยือนคุณ

เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว อย่าให้โรคเหล่านี้มาเยือนคุณ

ไข้หวัด (Common cold) ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ (Pneumonia) โรคหัด (Measles) โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) วิธีดูแลตัวเองเมื่อเข้าหน้าหนาว หน้าหนาวเป็นช่วงเวลาที่เราต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องของความสะอาด และการป้องกันโรค หากมีอาการผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องทันที

อารมณ์ทั้ง 7 ส่งผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย

อารมณ์ทั้ง 7 ส่งผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย

ในทฤษฎีของการแพทย์แผนจีน อารมณ์ ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติ เกิดโรคหรือทำให้โรคเดิมแย่ลงได้ โดยอารมณ์ทั้ง 7 ได้แก่ โกรธ ยินดี เศร้าโศก วิตกกังวล ครุ่นคิด หวาดกลัว และตกใจ มีผลกระทบต่อทิศทางการไหลเวียนลมปราณของอวัยวะภายใน เพราะเมื่ออารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง และต่อเนื่องนาน ๆ จะส่งผลให้ร่างกายเสียสมดุล อารมณ์ทั้ง 7 มีผลกับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายต่างกันอย่างไรบ้าง ? อารมณ์โกรธ กระทบต่อตับ ทำให้ลมปราณในตับ ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เลือด และลมปราณไหลเวียนไม่สะดวก จนเกิดอาการปวดหัว เวียนหัว หงุดหงิดง่าย อาจมีปัญหาเรื่องกระเพาะอาหารร่วมด้วย เนื่องจากลมปราณตับไปกระทบม้าม อารมณ์ยินดี กระทบต่อหัวใจ หากดีใจมากจนเกินไป จะทำให้ลมปราณหัวใจกระจัดกระจาย ส่งผลให้ใจสั่น วิตกกังวล อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ อารมณ์เศร้า กระทบลมปราณปอด ทำให้ลมปราณในปอดอ่อนแอลง จนเกิดอาการหายใจลำบาก อ่อนเพลีย และกระทบอวัยวะอื่น ๆ ตามมา เช่นไปกระทบต่อลมปราณหัวใจ จนเกิดอาการใจสั่น เป็นต้น …

อารมณ์ทั้ง 7 ส่งผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย Read More »

MPLM74 Post 11 1200x628px

อยากมีลูกอย่ามองข้าม 6 สัญญาณเตือนภาวะมีบุตรยาก

ภาวะการมีบุตรยาก เป็นภาวะที่ใครหลายคนไม่อยากให้เกิดขึ้นกับชีวิตรักของตัวเอง โดยสาเหตุของการมีบุตรยากนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ และมักแสดงออกผ่านทางอาการเหล่านี้ ซึ่งถือเป็นสัญญาณเตือนของการมีบุตรยาก เริ่มต้นดูแลตัวเอง บำรุงมดลูกให้พร้อมก่อนมีบุตรขอแนะนำ “แปะ ห่ง อี้” ของ บริษัท แบแป๊ะเลี้ยง เวชภัณฑ์สมุนไพรธาตุหยาง บำรุงมดลูก และปรับสมดุลฮอร์โมน ช่วยดูแลอาการต่าง ๆ เหล่านี้

66

รู้สึกเมื่อยล้า ปวดเมื่อยตามตัว ? ลองเปลี่ยนมาผ่อนคลายด้วย การอบไอน้ำสมุนไพรจีน กันดูไหม

การอบไอน้ำสมุนไพรจีน เป็นวิธีการรักษาแบบดั้งเดิมที่ใช้สมุนไพรสดหรือแห้งหลากชนิดมาต้มจนเดือด แล้วนำไอน้ำที่ได้มาอบร่างกาย เพื่อเป็นการบำบัด และฟื้นฟูร่างกาย ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย ลดการอักเสบ ประโยชน์ของการอบไอน้ำสมุนไพรจีน สมุนไพรที่นิยมใช้ในการอบไอน้ำ ข้อควรระวังในการอบไอน้ำสมุนไพรคือไม่ควรอบนานเกิน 30 นาที เพราะจะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ และเกลือแร่ไปทางเหงื่อ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียจนอาจเป็นลมได้ รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการอบไอน้ำเพื่อความปลอดภัย

อย่าเข้าใกล้ต้นกล้วยในตอนกลางคืน...ถ้าไม่อยากเจอ ปาเจียวกุ่ย

อย่าเข้าใกล้ต้นกล้วยในตอนกลางคืน…ถ้าไม่อยากเจอ ปาเจียวกุ่ย

ปาเจียวกุ่ย (Ba jiao gui) หรือที่รู้จักกันในชื่อของ ผีต้นกล้วย เป็นวิญญาณที่สิงสถิตอยู่ในต้นกล้วยคล้ายผีตานีของไทย แต่มีความน่ากลัวกว่า มักปรากฏในรูปของหญิงสาวที่สวมใส่เครื่องแต่งกายสีเขียวหรือขาว ผมดำยาว มีใบหน้าที่สละสลวย ตามตำนานเล่าว่า ปาเจียวกุ่ย เกิดจากหญิงสาวที่ถูกฆาตกรรม และฝังไว้ที่ต้นกล้วย จนกลายมาเป็นวิญญาณอาฆาตที่คอยจ้องเล่นงานผู้ที่ผ่านไปมาบริเวณต้นกล้วยที่นางสิงสู่ หรือบางตำนานก็กล่าวไว้ว่า ปาเจียวกุ่ย เกิดจากต้นกล้วยที่สะสมพลังหยินจากพระจันทร์ และพลังหยางจากพระอาทิตย์ จนเมื่อได้รับเลือดของมนุษย์ วิญญาณในต้นกล้วยก็จะสามารถกลายร่างเป็นสิ่งที่เหมือนมนุษย์ผู้หญิงได้ เชื่อกันว่าหากมีคนนำด้ายแดงมาผูกไว้ที่ต้นกล้วย และปาเจียวกุ่ยไปเข้าฝันใครเพื่อให้นำด้ายแดงออก เธอจะตอบแทนคุณด้วยการให้เลขลอตเตอรี่ แต่หากคุณผิดคำสัญญาไม่ยอมนำด้ายแดงออก เมื่อใดก็ตามที่ด้ายแดงเสื่อม ก็เตรียมตัวพบกับเธออีกครั้งได้เลย

ก้มหน้ามากไป ระวังคอจะพังเพราะ Text Neck Syndrome

ก้มหน้ามากไป ระวังคอจะพังเพราะ Text Neck Syndrome

Text Neck Syndrome หรือ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทส่วนคอ คือภาวะที่กล้ามเนื้อคอ และกระดูกสันหลังส่วนคอเกิดการบาดเจ็บเรื้อรัง เนื่องจากการก้มหน้าทำกิจกรรมสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อคอและกระดูกสันหลังส่วนคอต้องรับน้ำหนักที่มากเกินไป จนเกิดการอักเสบ และเสื่อมสภาพ สาเหตุที่ทำให้เกิด Text Neck Syndrome วิธีป้องกัน Text Neck Syndrome

มาดูกันว่า คุณเป็นคนแบบไหน ตามหลักแพทย์จีน ได้ที่นี่

มาดูกันว่า คุณเป็นคนแบบไหน ตามหลักแพทย์จีน ได้ที่นี่

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมบางคนถึงแข็งแรงอยู่เสมอ แต่บางคนกลับป่วยง่าย หรือทำไมบางคนถึงมีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับอยู่บ่อย ๆ ? นั่นเป็นเพราะคนแต่ละคนถูกจัดอยู่ในกลุ่มพื้นฐานสุขภาพที่แตกต่างกัน โดยอาศัยทฤษฎีหยิน-หยาง และทฤษฎีปัญจธาตุ รวมถึง ชี่ การแบ่งกลุ่มตามพื้นฐานสุขภาพของร่างกาย จะทำให้ง่ายต่อการดูแล ป้องกัน และรักษาโรคที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายได้ง่ายขึ้น รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงด้วยเช่นกัน กลุ่มต่าง ๆ ตามพื้นฐานสุขภาพของร่างกาย กลุ่ม สมดุล กลุ่ม หยางพร่อง กลุ่ม หยินพร่อง กลุ่ม ชี่พร่อง กลุ่ม ชี่อั้น กลุ่ม เสมหะชื้น กลุ่ม ร้อนชื้น กลุ่ม เลือดคั่ง การแบ่งกลุ่มตามหลักแพทย์จีนนั้นเป็นเพียงแนวทางเบื้องต้น เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีในระยะยาวเพียงเท่านั้น

การฝังเข็มคืออะไร และช่วยดูแลอาการใดได้บ้าง

การฝังเข็มคืออะไร และช่วยดูแลอาการใดได้บ้าง

การฝังเข็ม เป็นศาสตร์การแพทย์แผนจีนโบราณ โดยอาศัยหลักการปรับสมดุลของพลังงานภายในร่างกาย ที่เรียกว่า “ชี่” ซึ่งเชื่อว่าเป็นพลังงานที่ไหลเวียนในร่างกาย รวมถึงปรับอวัยวะ และระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้กลับมาสมดุล อาการที่การฝังเข็มอาจช่วยบรรเทาได้ กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ควรรักษาด้วยการฝังเข็ม การฝังเข็ม เป็นเพียงทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพ และต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ และพื้นฐานร่างกายของตัวผู้ป่วย ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

อาการเจ็บหน้าอกแบบนี้ กรดไหลย้อนหรือเส้นเลือดหัวใจตีบกันแน่นะ ?

อาการเจ็บหน้าอกแบบนี้ กรดไหลย้อนหรือเส้นเลือดหัวใจตีบกันแน่นะ ?

เพราะทั้งกรดไหลย้อน และเส้นเลือดหัวใจตีบ ต่างมีอาการ เจ็บหน้าอก ร่วมด้วย ทำให้หลายคนอาจเข้าใจผิดจนอาจละเลยการดูแลรักษาที่ถูกต้องไป ซึ่งมีข้อแตกต่างให้สังเกต ดังนี้ อาการ กรดไหลย้อน อาการ เส้นเลือดหัวใจตีบ ดังนั้น หากมีอาการเจ็บหน้าอกเวลาหายใจลึก ๆ หรือไอ แต่ไม่ร้าวกราม ไหล่หรือแขน อาจหมายถึงอาการกรดไหลย้อน แต่หากมีอาการเจ็บแน่นบริเวณกึ่งกลางหน้าอก เหมือนมีสิ่งกดทับหรือบีบรัด รวมถึงอาการเหนื่อย หอบ นั่นอาจหมายถึงโรคเส้นเลือดหัวใจตีบได้ ป้องกันกรดไหลย้อน และเส้นเลือดหัวใจตีบอย่างไรดี ?

MPLM72 Post 08 1200x628px

ปรับสมดุลร่างกาย เพิ่มพลังชีวิต ด้วย เต๋าอิ่น ศาสตร์โบราณที่ทรงพลัง

เต๋าอิ่น เป็นศาสตร์การฟื้นฟูร่างกายที่สืบทอดมาจากแพทย์แผนจีนโบราณ มุ่งเน้นการปรับสมดุลของร่างกาย และจิตใจ โดยอาศัยหลักการของพลังชี่ที่ไหลเวียนภายในร่างกาย ตัวอย่างท่าพื้นฐานเต๋าอิ่น ท่าล้างหน้า ใช้ฝ่ามือถูหน้าจากล่างขึ้นบนถึงหางคิ้ว นิ้วโป้งคลึงหลังใบหู นิ้วกลางกดคลึงร่องจมูกทั้งสองข้าง ทำซ้ำ 6-12 ครั้ง ท่าหมุนเอว ยืนแยกเท้าทั้งสองให้อยู่ระดับเดียวกับหัวไหล่ มือทั้งสองแตะเอว จากนั้นค่อย ๆ หมุนเอวซ้ายขวาเบา ๆ ทำซ้ำ 6-12 ครั้ง ท่ายกขา ยกขาซ้ายเสมือนก้าวไปข้างหน้า จากนั้นลดขาลงช้า ๆ พร้อมแกว่งแขนไป ทำสลับข้างซ้าย ขวา ซ้ำ 6-12 ครั้ง ประโยชน์ของการฝึกเต๋าอิ่น เต๋าอิ่น เป็นศาสตร์ที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการตึง เกร็งของกล้ามเนื้อหรือภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือดสมอง เต๋าอิ่นจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีส่วนช่วยบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยได้

Scroll to Top