แพทย์แผนจีนเชื่อว่า ร่างกายเราทุกคนมีทั้งหยิน-หยางอยู่ในตัว ถ้าหยินและหยางไม่สมดุลกันจะทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย
เพื่อไม่ให้ร่างกายมีหยินหรือหยางมากเกินไป ดูแลสุขภาพตนเองง่าย ๆ จากการใส่ใจอาหารการกินมากขึ้น เพราะอาหารแต่ละอย่างก็มีความเป็นหยินและหยางต่างกันไป การกินอาหารที่เหมาะสม ก็จะช่วยปรับให้ร่างกายอยู่ในความสมดุล และห่างไกลจากความเจ็บป่วย
ถ้าหยิน-หยางไม่สมดุล ต้องกินอะไรบ้าง?
คนเป็นหยินต้องกิน หยาง
อาหารธาตุร้อน มีรสชาติเผ็ด หวาน ผ่านการปรุงด้วยกรรมวิธี ทอด ย่าง รมควัน ผักที่ให้ความเผ็ดร้อน ผลไม้ที่มีแป้งและน้ำตาลมาก โดยการกินอาหารประเภทหยาง จะให้พลังงานสูง สร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย
เนื้อสัตว์ : เนื้อวัว ไก่
ผัก : กะเพรา พริก กุยช่าย มะเขือยาว ฟักทอง คะน้า กะหล่ำปลี แครอท ถั่วพู สาหร่าย ชะอม ถั่วลิสง เห็ดหอม เห็ดโคน งาดำ งาขาว เมล็ดทานตะวัน หน่อไม้ ผักชี
ผลไม้ : ทุเรียน ขนุน มะม่วงสุก เงาะ น้อยหน่า สละ ละมุด ลำไย ลิ้นจี่
สมุนไพร : ขิง ข่า ขมิ้นชัน กระเทียม กระชาย ตะไคร้ ไพล พริกไทย หอมแดง
เมนูแนะนำ : ซุปหัวหอมไก่ฉีก ซุปกิมจิหม้อร้อน สเต๊กหมูพริกไทยดำ ผัดมะเขือยาว ผัดกะเพรา หมูอบน้ำจิ้มเต้าเจี้ยว มันต้มขิง ข้าวเหนียวทุเรียน
คนเป็นหยางต้องกิน หยิน
อาหารธาตุเย็น มีรสชาติเปรี้ยว ขม เค็ม ฝาด จืด ผ่านการปรุงด้วยกรรมวิธี ต้ม นึ่ง ตุ๋น ผักและผลไม้ที่มีน้ำมาก น้ำตาลต่ำ โดยการกินอาหารประเภทหยิน จะทำให้ร่างกายเย็นขึ้น
เนื้อสัตว์ : ปู เป็ด ห่าน หอยนางรม เนื้อปลาสีขาว
ผัก : มะระ แตงกวา มะเขือเทศ ขึ้นฉ่าย บวบ รากบัว ข้าวโพด เห็ดฟาง เห็ดหูหนู หัวไชเท้า ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วฝักยาว
ผลไม้ : ส้ม แตงโม ชมพู่ มะนาว น้ำมะพร้าว กล้วย สาลี่ อ้อย มะละกอ มังคุด แคนตาลูป แก้วมังกร กระเจี๊ยบ กระท้อน
สมุนไพร : ฟ้าทลายโจร บอระเพ็ด ว่านหางจระเข้ เก๊กฮวย จับเลี้ยง
เมนูแนะนำ : แกงจืดฟัก ต้มจืดมะระ แกงส้มมะละกอ เต้าหู้นึ่งซอสทะเล ข้าวต้มปลา ปลาหิมะนึ่งบ๊วย ซุปเยื่อไผ่ ถั่วเขียวต้มรากบัว
นอกจากนี้เราควรเลือกกินอาหารให้สมดุลกับฤดูกาลด้วยนะ ก็จะช่วยรักษาสมดุลร่างกาย และมีสุขภาพที่แข็งแรงตลอดปี
- ฤดูร้อน (สภาพอากาศเป็นหยาง) ควรกินอาหารเพิ่มพลังหยิน
- ฤดูหนาวและฝน (สภาพอากาศเป็นหยิน) ควรกินอาหารเพิ่มพลังหยาง