ในมุมมองแพทย์แผนจีน ปอดเปรียบเสมือนต้นไม้ของร่างกาย มีหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของน้ำในร่างกาย และนำพาน้ำไปหล่อเลี้ยงให้ความชุ่มชื้นแก่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
เมื่อร่างกายผิดปกติ น้ำย่อมไม่สามารถไหลเวียนได้เป็นปกติ ทำให้คั่งค้างกลายเป็นเสมหะเหนียวข้น ตามตำราการแพทย์จีน อธิบายสาเหตุและอาการไอ แบ่งออกเป็น 7 ชนิด
ระยะที่ 1 : มีอาการไอประมาณ 1-2 สัปดาห์
1) ลมเย็นโจมตีปอด
สาเหตุ : เกิดจากร่างกายถูกลมเย็นมากระทบ ทำให้การกระจายลมปราณของปอดแย่ลง
สัญญาณบอก : ไอคันคอเสียงดัง หายใจเร็ว เสมหะขาวใส แน่นจมูก น้ำมูกใส ลิ้นเป็นฝ้าขาว
2) ลมร้อนโจมตีปอด
สาเหตุ : เกิดจากร่างกายถูกลมร้อนมากระทบ หรือความเย็นที่เข้ามาในร่างกายเปลี่ยนเป็นความร้อน ความร้อนเข้าไปเผาผลาญสารน้ำในร่างกาย ทำให้ปอดทำงานได้ไม่ดี
สัญญาณบอก : ไอมีเสมหะสีเหลืองเหนียว หายใจแรง เจ็บคอ คอแห้ง น้ำมูกเหลือง ลิ้นเป็นฝ้าเหลือง
3) ความแห้งทำลายปอด
สาเหตุ : อากาศแห้ง ความชื้นน้อย ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองบริเวณเยื่อบุจมูก เนื่องจากหายใจเอาอากาศที่เย็นแห้ง ทำให้สูญเสียความร้อนจากเยื่อบุจมูกจนเกิดอาการไอ
สัญญาณบอก : ไอแห้ง ไม่มีเสมหะหรือมีเสมหะน้อย จมูกคอแห้ง ลิ้นเป็นสีแดงสดและแห้ง ไม่มีน้ำลาย
ระยะที่ 2 : มีอาการไอประมาณ 2-6 สัปดาห์
4) เสมหะชื้นสะสมในปอด
สาเหตุ : ความชื้นมีลักษณะเหนียวข้น ขจัดออกยาก มักทำให้ลมปราณติดขัด ถ้าร่างกายมีเสมหะและความชื้นสะสมมากเกินไป ก็จะไปอุดกั้นปอด
สัญญาณบอก : ไอเสียงดังไม่หยุด จุกแน่นอก เสมหะมากสีขาวเหนียว ฝ้าบนลิ้นขาวเหนียว เปลือกตาบวม เบื่ออาหาร ถ่ายเหลว
5) เสมหะร้อนปิดกั้นปอด
สาเหตุ : เกิดจากเสมหะร้อนไปอุดกั้นหลอดลม
สัญญาณบอก : ไอรุนแรง ไอจนอาเจียนแน่นหน้าอก กลางวันไอเบาแต่กลางคืนไอหนักเสียงดัง เสมหะเหลืองเหนียวเอาออกยาก บางรายเสมหะมีเลือดปน หายใจเร็ว ฝ้าบนลิ้นเหลืองเหนียว
ระยะที่ 3 : อาการไอค่อย ๆ ทุเลาและหายไปใน 6-10 สัปดาห์ หรือยังคงมีอาการไอเบา ๆ ไอแห้ง ๆ อยู่นานหลายสัปดาห์
6) หยินปอดพร่อง
สาเหตุ : เกิดจากไอมานานจนทำลายปอด หยินของปอดไม่เพียงพอ ทำให้เกิดเป็นความร้อนขึ้นมา
สัญญาณบอก : ไอเสียงแหบแห้ง ไม่มีเสมหะ บางครั้งมีเลือดปน ลิ้นแดงมีฝ้าบนลิ้น นอนหลับไม่ดี
7) ไฟตับรุกรานปอด
สาเหตุ : เกิดจากลมปราณตับอุดกั้นจนกลายเป็นไฟ ไฟของตับกำเริบขึ้นสู่ส่วนบนไปรบกวนการทำงานของปอด
สัญญาณบอก : ไอถี่หอบเป็นช่วง ๆ ทำให้ปวดชายโครงและสีข้าง บริเวณขอบและปลายลิ้นแดง ฝ้าบนลิ้นเหลืองแห้ง เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ หน้าแดงและตาแดง
อย่าปล่อยให้ตัวเองไอนาน ๆ กลายเป็นไอเรื้อรังจนเกินจะเยียวยา
หาตัวช่วยดูแลปอด ขอแนะนำสมุนไพร งู่ อึ่ง อี้ ของ แบแป๊ะเลี้ยง ช่วยเคลียร์ลำคอให้โล่ง ลดความเหนียวข้นของเสมหะ ขับเสมหะออกมาง่ายขึ้น
ช่วยดูแลอาการเหล่านี้
- ขับเสมหะเหนียวข้น
- ลดอาการระคายเคืองคอ
- บรรเทาอาการไอ
- แก้ไข้ตัวร้อน
- ขับลม
งู่ อึ่ง อี้ ช่วยดูแลผู้ที่มีภาวะ ดังนี้
- ผู้ที่มีเสมหะเป็นจำนวนมากแต่ไม่สามารถขับออกได้เอง
- ผู้สูงอายุไอแบบมีเสมหะ
- ผู้ที่สูบบุหรี่จัดมีอาการไอเรื้อรัง