สมุนไพรจีน มีรสชาติอย่างไรบ้าง?
ตามศาสตร์แพทย์แผนจีน ยาสมุนไพรจีนเน้นการปรับสมดุลร่างกายให้กลับมาทำงานเป็นปกติ แบ่งออกเป็น 5 รส สามารถจำแนกได้ ดังนี้
- ตัวยารสเผ็ดและหวาน จัดอยู่ในประเภท หยาง
- ตัวยารสเปรี้ยว ขม และเค็ม จัดอยู่ในประเภท หยิน
สมุนไพรรสเผ็ด
ส่งผลต่ออวัยวะ : ปอดและลำไส้ใหญ่
สรรพคุณ : กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต แก้จุกเสียด ขับลม ขับเหงื่อ ช่วยย่อยอาหาร
สมุนไพร : กันเจียง (ขิงแก่แห้ง), เจียงหวง (ขมิ้นชัน), ชวนซุยง (โกฐหัวบัว)
สมุนไพรรสหวาน
ส่งผลต่ออวัยวะ : ม้ามและกระเพาะอาหาร
สรรพคุณ : บำรุงกำลัง ปรับระบบการทำงานของม้ามและกระเพาะอาหาร แก้อ่อนเพลีย
สมุนไพร : กันเฉ่า (ชะเอมเทศ), จินอิ๋นฮวา (ดอกสายน้ำผึ้ง), เออเจียว (กาวหนังลา)
สมุนไพรรสเปรี้ยว
ส่งผลต่ออวัยวะ : ตับและถุงน้ำดี
สรรพคุณ : สร้างน้ำหล่อเลี้ยงให้ร่างกาย ช่วยย่อยอาหาร ทำให้เจริญอาหาร เสริมสร้างสมรรถภาพของการทำงานตับ
สมุนไพร : เหลียนจื่อ (เม็ดบัว), อู่เว่ยจื่อ (เบอร์รีจากจีน), เซี่ยนสือ
สมุนไพรรสขม
ส่งผลต่ออวัยวะ : หัวใจและลำไส้เล็ก
สรรพคุณ : ขับพิษ ขับร้อน สลายชื้น ทำให้ขับถ่าย ขจัดความหงุดหงิด ขับพิษ กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต และยังช่วยขับปัสสาวะและอุจจาระ
สมุนไพร : หวงเหลียน, ต้าหวง, หวงฉิน
สมุนไพรรสเค็ม
ส่งผลต่ออวัยวะ : ไตและกระเพาะปัสสาวะ
สรรพคุณ : ช่วยระบายและขับของเหลวในร่างกาย บำรุงไตและเลือด มักใช้บำบัดอาการท้องผูก สลายก้อน ทำให้นิ่ม
สมุนไพร : หว่าเหลิงจื่อ (เปลือกหอยแครง), ปลิงทะเล, สาหร่าย