ไอแบบนี้อาจเป็นอะไร? มาเช็กอาการเบื้องต้นด้วยตัวเองกัน!!
1. ไอแห้ง
- ลักษณะอาการ : ไอ รู้สึกคันคอ คอแห้ง ไม่มีน้ำลาย ไม่มีเสมหะ อาจมีอาการไอรุนแรงขึ้นในเวลากลางคืน รู้สึกเหมือนมีอะไรบางอย่างติดที่ลำคอ คันยุบยิบที่ตา และจามเป็นระยะ
- สัญญาณบอกโรค : โรคภูมิแพ้
- สาเหตุ : เกิดจากไรฝุ่น เชื้อไวรัสจากหวัด หรือสิ่งแปลกปลอมลงคอ
2. ไอติด ๆ กัน
- ลักษณะอาการ : ไอต่อเนื่องจังหวะรัวและเร็ว แน่นหน้าอก หายใจติดขัดและมีเสียงหวีด
- สัญญาณบอกโรค : หอบหืด
- สาเหตุ : เกิดจากการอักเสบของหลอดลมเรื้อรัง ร่วมกับการที่หลอดลมมีความไวต่อสิ่งที่มากระตุ้นมากผิดปกติ
3. ไอเป็นเลือด
- ลักษณะอาการ : ไอมีเลือดปนออกมากับน้ำลาย บางครั้งอาจไอออกมาเป็นฟอง มีเลือดเป็นลิ่ม ๆ และมีเสมหะผสม
- สัญญาณบอกโรค : วัณโรค มะเร็งปอด
- สาเหตุ : ไอแรง ๆ หรือไอเพื่อขับเสมหะแรง ๆ จนเส้นเลือดฝอยที่ผนังคอหอยโป่งแตก ทำให้เห็นเลือดออกมาเป็นเส้น ๆ สีแดงปนมากับเสมหะ หรือเกิดจากความผิดปกติของปอดจนทำให้เกิดเลือดออก
4. ไอรุนแรงเป็นพัก ๆ
- ลักษณะอาการ : ไอเรื้อรัง ไออย่างรุนแรง แต่จะไอเป็นช่วงสั้น ๆ มักจะกำเริบหลังทานอาหาร หรือไอก่อนเอนตัวนอน
- สัญญาณบอกโรค : โรคกรดไหลย้อน
- สาเหตุ : กรดในกระเพาะอาหารตีกันขึ้นมาทางหลอดลม จึงทำให้รู้สึกแสบคอและระคายเคืองลำคอ ก่อให้เกิดอาการไอขึ้นมา
5. ไอมีเสมหะ
- ลักษณะอาการ : ไอพร้อมมีเมือกเหนียวข้นออกมา การไอแบบมีเสมหะร่วมด้วย จะทำให้หายใจลำบาก กลืนลำบาก
- สัญญาณบอกโรค : หลอดลมอักเสบ
- สาเหตุ : เกิดจากการอักเสบในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เนื่องจากติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย เมื่อเกิดการอักเสบจะกระตุ้นให้ร่างกายผลิตเสมหะในลำคอมากขึ้น เมื่อเสมหะสะสมในระบบทางเดินหายใจมากขึ้น ก่อให้เกิดอาการไอเพื่อขับเสมหะออกมา
6. ไอเรื้อรังแบบไม่ทุเลาลง
- ลักษณะอาการ : ไอเรื้อรังและมีเสมหะปนมาด้วย มักจะไอถี่ขึ้นในตอนเช้า อาจรู้สึกแน่นหน้าอกขณะไอ หรือหายใจติดขัดร่วมด้วย
- สัญญาณบอกโรค : โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคถุงลมโป่งพอง โรคปอดอักเสบ
- สาเหตุ : สาเหตุอาจมาจากพฤติกรรมการสูบบุหรี่
อย่าปล่อยให้ไอจนเรื้อรัง มาดูแลสุขภาพตัวเองตั้งแต่ตอนนี้ ก่อนโรคร้ายจะมาเยือน
ขอแนะนำสมุนไพร งู่ อึ่ง อี้ ของ แบแป๊ะเลี้ยง เคลียร์ลำคอให้โล่ง ขับเสมหะออกมาง่ายขึ้น
ช่วยดูแลอาการเหล่านี้
- ขับเสมหะเหนียวข้น
- ลดอาการระคายเคืองคอ
- บรรเทาอาการไอ
- แก้ไข้ตัวร้อน
- ขับลม
งู่ อึ่ง อี้ ช่วยดูแลผู้ที่มีภาวะ ดังนี้
- ผู้ที่มีเสมหะเป็นจำนวนมากแต่ไม่สามารถขับออกได้เอง
- ผู้สูงอายุไอแบบมีเสมหะ
- ผู้ที่สูบบุหรี่จัดมีอาการไอเรื้อรัง